วิธีการฝึกทักษะ

วิธีการฝึกทักษะ
Photo by Quino Al on Unsplash

ก่อนหน้านี้ผมเคยสงสัยฝ่าเวลาเรากำลังฝึกฝน เราจะรู้ได้อย่างไรว่าแบบไหนที่เรียกว่าพยายาม และแบบไหนที่เรียกว่าฝืนเกินไป

ปรกติผมจะแยกมันด้วยผลลัพธ์ นั่นคือถ้าฝึกเสร็จแล้วไม่บาดเจ็บ ก็เรียกว่าพยายาม แต่ถ้าปรากฏว่าเจ็บ ก็เรียกว่าฝืนเกิน

ปัญหาคือการสรุปแบบนี้เอาไปใช้ประโยชน์ในครั้งถัดไปไม่ได้เลย เพราะคราวหน้าตอนที่กำลังฝึกอยู่และผลลัพธ์ยังไม่ปรากฏ ผมก็แยกไม่ออกว่าความลำบากที่เผชิญอยู่เป็นความฝืนหรือความพยายามอยู่ดี

ประโยชน์ของการออกจาก comfort zone

ที่ผมยอมเสี่ยงบาดเจ็บเพื่อออกนอก comfort zone ตัวเองด้วยความหวังว่าเราจะได้เทคนิคใหม่ ๆ ที่เราไม่เคยจำเป็นต้องใช้ใน comfort zone ของเรามาก่อน

แล้วจะมั่นใจอย่างไรว่าไม่ได้กำลังฝืนอยู่

เอาจริง ๆ ผมไม่รู้หรอกว่าความยากลำบากที่ผมเผชิญตอนฝึกฝนมันฝืนเดินไปไหม แต่แนวทางหนึ่งที่ผมได้จากครูฝึกโยคะคือให้สังเกตลมหายใจตัวเอง ถ้าหายใจติดขัด อึดอัด เริ่มเสียสมาธิจนควบคุมลมหายใจไม่ค่อยได้น่าจะกำลังฝืนเกินไป ร่างกายเรามีขึ้นมีลง อยู่กับปัจจุบันว่าร่างกายเราไหวแค่ไหน สุดขอบที่ลมหายใจเรายังนิ่งนั้นแหละคือขอบเขตความพยายามที่ผมยึดมั่นในช่วงนี้

เครดิต

ขอบคุณดร. กานต์ที่แบ่งปันเรื่อง Deep End Practice ทำให้ผมกล้าก้าวออกมาจาก comfort zone เดิม ๆ เพราะกลัวบาดเจ็บจนมาพบสมดุลย์ใหม่นี้

อ้างอิง

Read more

จักระกับระบบประสาท

จักระกับระบบประสาท

ครูณาส่งหนังสือที่ครูแปล ชื่อ Becoming super natural มาให้ ผมได้ข้อมูลที่ตื่นตาตื่นใจหลายอย่าง หลายอย่างผมก็ยังต้องใช้เวลาค่อย ๆ ทำความเข้าใจไป แต่วันนี้อยากเอาเรื่อง จักระ ทั้ง 8 จุดมาแบ่งปัน จากในหนังสือ ผมได้ลองนั

By Chokchai
Scrum master focus

Scrum master focus

ครั้งแรกที่ผมได้เรียนว่า สกรัมมาสเตอร์ควรแบ่งโฟกัสการโค้ชของตัวเองเป็น 4 เรื่องคือ 1. องค์กร 2. engineering practice 3. product owner 4. ทีม ผมอดคิดไม่ได้ว่าคนบ้าอะไรจะไปเก่งทั้ง 4 อย่างซึ่งมันใช้ความรู้และทักษะที่แตกต่างกันเหลือเกิ

By Chokchai