Scrum master ทำแค่เนี๊ยะ

Scrum master ทำแค่เนี๊ยะ
Captured by Chokchai Phatharamalai

เวลามีคนถามว่า Scrum master ทำอะไร แล้วผมตอบว่าทำให้ Scrum เวิร์คสำหรับทั้งองค์กร ซึ่ง โฟกัสหลัก ๆ 4 อย่างก็จะอยู่ที่ Product owner, ทีม, engineering practices และ องค์กร บางครั้งที่ผมจะได้ยินเสียงตอบกลับมาเบา ๆ ว่า “แค่เนี๊ยะ?”

ในฐานะ Scrum master คนนึง บางครั้งก็รู้สึกเหมือนโดนดูถูกด้วยคำว่า แค่เนี๊ยะ ก็เลยเริ่ม defend ด้วยการอ้างอิงถึง ScrumMaster checklist ของไมเคิล เจมส์ โดยหวังจะให้เค้าเห็นรายละเอียดเพิ่มเติมใน 4 หมวดนั้น ว่ามันเยอะขนาดไหน แต่บางครั้งผมก็อดคิดไม่ได้ ว่าการขยายความรายละเอียดไม่ใช่คำตอบที่เหมาะที่สุดสำหรับคนอื่นที่ไม่เคยเป็น Scrum master และอาจจะไม่ได้สนใจว่า role Scrum master สำคัญอย่างไร และอาจจะไม่ได้อยากมาเป็นอีกด้วย

วันนี้ผมจะขอเลือกตอบอีกแบบ แทนที่จะไปนั่ง defend ผมจะตอบว่า

อืม ทำแค่นี้แหละ

ผมนึกย้อนกลับไปตอนผมมีลูกอ่อน แล้วผมกับภรรยาต้องออกไปทำงาน เป็นปรกติที่เราจะหาพี่เลี้ยงมาดูแลลูก แล้วเราก็พบว่าพี่เลี้ยงส่วนใหญ่ออกตัวก่อนเลยว่าเค้าจะแค่ดูแลลูกเราเท่านั้น เค้าจะไม่รับทำงานบ้านด้วย ซึ่งบางทีผมก็ขัดใจว่า ช่วงลูกหลับ ไม่ได้ทำอะไร ช่วยปัดกวาดเช็ดถูเท่าที่ทำได้ไม่ได้เหรอ?

ผมลองนึกภาพว่าไปทำงานกลับบ้านมา เจอว่าลูกหัวโน เพราะตกเตียงระหว่างพี่เลี้ยงมัวไปล้างจานอยู่ ผมจะโอเคไหม

ลองนึกภาพกลับด้านคือกลับมาแล้วเจอกองจานที่ล้างค้างไว้ น้ำนองเต็มอ่าง เพราะเค้าทิ้งจานไปทันทีตอนที่ลูกตื่น ผมจะรู้สึกขอบคุณเค้าที่ลูกหัวไม่โนไหม

จากประสบการณ์ตอนที่ผมพยายามเลี้ยงลูกและทำงานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ ตอนลูกหลับด้วยตัวเอง สุดท้ายผมเลือกหยุดทำทุกอย่าง เพราะ การดูลูกมันกะไม่ได้ว่าเค้าจะต้องการสมาธิจากเราตอนไหน พอจะเริ่มทำอย่างอื่น ก็ถูกขัดจังหวะจนหงุดหงิด บางครั้งไปอารมณ์เสียใส่ลูกก็มี T-T ทำไปซักพัก กลับมานั่งดูตัวเองก็คิดได้ว่า ที่ฝืนทำอย่างอื่นไป มันได้ไม่คุ้มเสีย เราดูลูกอย่างเดียวดีกว่า

พอคิดได้แบบนี้ ถ้าผมจะจ้างพี่เลี้ยงมาดูแลลูกผม ผมก็จะไม่ขอให้เค้าทำงานบ้าน แค่ทำให้ผมวางใจได้ว่าลูกผมจะปลอดภัยก็พอ ถ้าเค้าจะช่วยกระตุ้นพัฒนาการให้ เล่นกับลูกผมโดยสอดแทรกความรู้เรื่องคำศัพท์หรือสอนมารยาทด้วย ถือว่าเป็นโชคดีมาก ๆ ของผม

แน่นอนว่าพี่เลี้ยงที่จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการและสร้างบรรยากาศดี ๆ ให้ลูกผมโตมาได้ ย่อมค่าตัวแพงกว่าพี่เลี้ยงที่ดูให้ผ่านไปวัน ๆ เฉย ๆ

ผมจะไม่หวังให้ Scrum master ทำได้ครบตาม Scrum master checklist หรอก สำหรับ Scrum master มือใหม่ แค่ดูทีมให้ผ่านไปวัน ๆ ผมก็รู้สึกขอบคุณแล้ว ถ้าเค้าจะใช้ Scrum master checklist เป็นแนวทางและคอยกระตุ้นให้ทีมเติบโต ก็ถือเป็นโชคดีมาก ๆ ของทีมผม

และผมจะไม่หวังให้เค้าไปทำงานอื่น เช่น จองห้องประชุม ชงกาแฟ จิปาถะ เพราะ เหตุผลว่า ‘เห็นอยู่ว่าง ๆ เอางานพวกนี้ไปทำได้ไหม’ ถ้าเค้าจะทำให้เองตอนเค้าว่าง ผมจะถือเป็นน้ำใจ แต่จะไม่ถือสิ่งเหล่านี้เป็นความรับผิดชอบของเค้า

และแน่นอน สิ่งที่ผลักดันให้ผมคิดแบบนี้ เพราะสำหรับผม ทีมก็เหมือนลูก ทีมสำคัญสำหรับผมมาก ถ้าไม่มีเค้า อะไรก็ไม่เสร็จทั้งนั้น ถ้าไม่มีทีมไอเดียดี ๆ ที่คิดมาก็เป็นแค่อากาศ เค้าคู่ควรที่ผมจะจ้าง Scrum master ราคาแพง ๆ มากระตุ้นพัฒนาการ ผมเห็นว่าทีมที่ถูกดูแลเหมือนลูก ก็ส่งมอบคุณค่าที่เท่าเทียมกันกับที่เค้าได้รับกลับมา

ส่วนทีมที่ถูกเลี้ยงแบบทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ เพราะคนดูแลสงสัยว่า ถ้าเราลงทุนจ้าง Scrum master แพง ๆ มาดูแล แล้วเค้าทิ้งเราไปหล่ะ ก็มักจะแยกย้ายกันไปตามคาดหรือไม่ก็มักจะอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก deploy แล้วก็ rollback วนไป สร้างความเสียหายในธุรกิจไม่น้อยไปกว่ากัน

ต่อไปนี้เวลาที่มีคนถามผมอีกว่า “แค่เนี๊ยะเหรอ” ผมจะถามว่าอยากได้คำตอบสั้น ๆ หรือยาว ๆ ถ้าจะเอาคำตอบยาว ๆ ผมจะส่งบทความนี้ให้อ่าน ถ้าจะเอาคำตอบสั้น ๆ ผมจะตอบว่า

อืม แค่นี้แหละ

ถ้าคำตอบนี้มันโดนใจคุณ ก็ช่วยส่งข้อความนี้ต่อ ๆ ไปหน่อยนะครับ ขอบคุณมากครับ

Scrum master ดูแลทีมเหมือนพ่อแม่ดูแลลูก

Q: ควรเป็นงาน full time ไหม?

A: ควร

Q: งานมันเยอะขนาดนั้นเลยเหรอ?

A: เปล่า แต่ทีมคู่ควรจะได้รับการดูแลเบอร์นั้น

Read more

จักระกับระบบประสาท

จักระกับระบบประสาท

ครูณาส่งหนังสือที่ครูแปล ชื่อ Becoming super natural มาให้ ผมได้ข้อมูลที่ตื่นตาตื่นใจหลายอย่าง หลายอย่างผมก็ยังต้องใช้เวลาค่อย ๆ ทำความเข้าใจไป แต่วันนี้อยากเอาเรื่อง จักระ ทั้ง 8 จุดมาแบ่งปัน จากในหนังสือ ผมได้ลองนั

By Chokchai
Scrum master focus

Scrum master focus

ครั้งแรกที่ผมได้เรียนว่า สกรัมมาสเตอร์ควรแบ่งโฟกัสการโค้ชของตัวเองเป็น 4 เรื่องคือ 1. องค์กร 2. engineering practice 3. product owner 4. ทีม ผมอดคิดไม่ได้ว่าคนบ้าอะไรจะไปเก่งทั้ง 4 อย่างซึ่งมันใช้ความรู้และทักษะที่แตกต่างกันเหลือเกิ

By Chokchai
Community of Practice (CoP) คืออะไร?

Community of Practice (CoP) คืออะไร?

กาลครั้งหนึ่ง… ชมรม Community of Practice (CoP) เป็นคอนเซปต์ที่ถูกกล่าวถึงใน Large Scale Scrum เทียบง่าย ๆ ก็เหมือนชมรมตอนเราเรียน ม. ปลาย นั่นแหละ ใครสนใจเรื่องอะไร ก็ไปเข้าชมรมนั้น แล้วก็ไปทำกิจกรรมร่วมกันในเรื่องที่เราสนใจ เพื่อฝึกฝนและแลกเปลี่ยนความรู้ บางทีอาจจะมี

By Chokchai