Scrum master focus

Scrum master focus
Photo by Devin Avery on Unsplash

ครั้งแรกที่ผมได้เรียนว่า สกรัมมาสเตอร์ควรแบ่งโฟกัสการโค้ชของตัวเองเป็น 4 เรื่องคือ

1. องค์กร
2. engineering practice
3. product owner
4. ทีม

ผมอดคิดไม่ได้ว่าคนบ้าอะไรจะไปเก่งทั้ง 4 อย่างซึ่งมันใช้ความรู้และทักษะที่แตกต่างกันเหลือเกิน แบะต่อให้เก่งทั้ง 4 แกน วัน ๆ หนึ่งจะไปทำทั้งหมดนี่ทันได้อย่างไร

หลังจากเรียนเสร็จ ผมก็ค่อย ๆ เก็บประสบการณ์การโค้ชทั้ง 4 แกนไปวันละนิด ๆ ในแต่ละองค์กรที่ผมได้ร่วมงานด้วยก็เปิดโอกาสให้ผมฝึกแกนต่าง ๆ มากน้อยต่างกัน บ้างก็เน้นโค้ชทีม บ้างก็เน้น organization coaching เป็นต้น

วันเวลาผ่านไป ผมก็เริ่มเข้าใจมากขึ้นทีละนิดว่าทำไปอาจารย์ถึงสอนให้คนที่ดูทั้ง 4 เรื่องเป็นคนเดียวกัน

จากประสบการณ์ผมที่เคยได้รับผิดชอบการโค้ชทั้ง 4 แกนตัวเอง และทั้งเคยทำงานร่วมกับอไจล์โค้ชท่านอื่นโดยแบ่งงานกันให้อไจล์โค้ชดูแล organization coaching ส่วนผมที่เป็นสกรัมมาสเตอร์ตอนนั้นดูทีม, engineering practice และ PO เป็นหลัก ผมพบว่าข้อมูลหน้างานที่ผมได้จากการทำงานใกล้ชิดกับทีมหรือ PO จำเป็นมากในการตัดสินใจว่าจะปรับโครงสร้างของทีมงานอย่างไร หรือกฎต่าง ๆ ที่ผู้นำกำหนดขึ้นมามีผลกับจิตวิทยาและความร่วมมือของทีมอย่างไร

บ่อยครั้งที่ผมพบว่ากฎที่ตั้งขึ้นมาเพื่อ optimize บางอย่าง ก็ส่งผลกระทบที่ไม่คาดคิดกับตัวแปรอื่น ๆ ในองค์กร หรือบ่อยครั้งที่ผมพบว่าการแนะนำ engineering practice บางอย่างช่วยลดแรงเสียดทานระหว่างสมาชิกในทีมได้ นอกจากนี้เค้ายังรู้ซึ้งถึงความสำคัญของ practice เหล่านั้นและทำมันอย่างขันแข็งโดยไม่ต้องให้ผมพร่ำบอก เพราะเค้ามีประสบการณ์แล้วว่าการละเลยวินัยข้อนี้อาจจะก่อให้เกิดความขัดแย้งอย่างไร

แล้วแบ่งเวลาอย่างไร

พอผมได้อ่าน Scrum master checklist ของ Michael James ก็ได้เรียนรู้ว่าสิ่งที่ต้องทำในแต่ละแกนนั้นไม่น้อยเลย วันนึงมีเวลาทำงานแค่ 8 ชั่วโมง จะไปทำทันได้ยังไงนะ

โชคดีที่เจอคำแนะนำใน Large Scale Scrum website ว่าแต่ละช่วงเวลา เราไม่ต้องโฟกัสทั้ง 4 แกน เราค่อย ๆ แบ่งโฟกัส ขึ้นกับการเติบโตของทีมและ PO ได้

ref: https://less.works/less/structure/scrummaster

ช่วงแรก ๆ ก่อนที่จะเริ่ม adoption สกรัมมาสเตอร์จะทำ organizational coaching ใกล้ชิดกับผู้นำ เพื่อกำหนด Definition of Done ที่เหมาะกับบริบทขององค์กร เพราะ DoD จะเป็นตัวบอกว่าภายในทีมต้องมีสมาชิกที่มีทักษะอะไรบ้าง และทักษะที่ต้องใช้จะตีกรอบเราจะเริ่มทำ adoption ในวงกว้างแค่ไหน

เมื่อเราได้ทีมมาแล้ว สกรัมมาสเตอร์จะใช้เวลาส่วนใหญ่กับการโค้ชทีมและ PO ที่อาจจะไม่คุ้นเคยกับสกรัม

เมื่อเวลาผ่านไปที่ทีมกับ PO เข้าขากันแล้ว และทีมก็บริหารจัดการตัวเองเป็นแล้ว ทีมก็จะทำงานได้เร็วขึ้น แล้วคอขวดของกระบวนการพัฒนาจะย้ายไปอยู่จุดอื่นในองค์กร สกรัมมาสเตอร์ก็จะกลับมาให้ความสำคัญกับ organizational coaching มากขึ้น

ซึ่งสิ่งที่ผมพบบ่อยครั้งในช่วงเวลาเดียวกันนี้คือ technical debt ที่ทีมและ PO สะสมมาเริ่มจะออกอาการ เช่น cost ของการทำ regression tests แพงมาก เลยทำให้คุณภาพของซอฟต์แวร์ไม่ดีเท่าที่ควร หรือ engineering practice ที่ไม่ดีพอกับความซับซ้อนของซอฟต์แวร์ที่สูงขึ้นเมื่อมีฟีเจอร์มากขึ้น ทำให้ทีมเสียเวลาส่วนใหญ่ไปกับการทำ integration ความยากลำบากในการทำงานเริ่มก่อให้เกิดความขัดแย้ง สกรัมมาสเตอร์จึงให้ความสำคัญกับ engineering practice มากขึ้นเพื่อรักษายั่งยืนของความเร็วของทีมเอาไว้

วันนี้ที่ผมคุ้นเคยทั้ง 4 แกนแล้ว

การแบ่งคนไปโค้ชแกนใดแกนหนึ่ง ไม่เมคเซนส์สำหรับผมอีกต่อไปแล้ว เพราะทั้ง 4 แกนมันมีความสัมพันธ์กันเองอย่าเป็นระบบ เช่น การโค้ช PO ให้ split item ให้เล็กลงจนเหมาะสมกับความเร็วของทีมได้ ช่วยรักษาความสมดุลระหว่างความคล่องตัวในการพัฒนาและการช่วยให้ทีมเห็นภาพรวมว่ากำลังแก้ปัญหาส่วนไหนในธุรกิจ หรือโครงสร้างองค์กรมีผลกับวัฒนธรรมองค์กร ซึ่งมีผลกับความร่วมมือภายในทีมและระหว่างทีมกับ PO อีกที

อย่างไรก็ดี ผมก็ยังไม่ลืมความรู้สึกวันที่ผมนึกไม่ออกว่าคน ๆ นึงจะไปเก่งทั้ง 4 เรื่องได้ยังไงนะ ทำให้เวลาผมฝึกสอนสกรัมมาสเตอร์มือใหม่ ผมมักจะบอกเค้าเสมอว่าจากพื้นฐานที่แตกต่างกัน เป็นธรรมดาที่เราไม่ถนัดบางแกน เช่น อาจจะเขิน ๆ เวลาไป pair กับทีมเขียนโปรแกรม หรือไม่ถนัดตอนช่วยกันคิดกับ PO ว่าจะ split item อย่างไร ให้ product อยู่ในสถานะ releasable ตลอดเวลา หรืออาจจะหาจังหวะแบ่งปันข้อมูลกับผู้บริหารระดับสูงตอนทำ organization coaching ยาก

จะไม่ถนัดเรื่องไหนก็ไม่เป็นไร แต่จะละเลยแกนใดไปเลยเป็นเวลา 2–3 เดือนนั้นไม่โอเค การขาดข้อมูลแกนใดไป มีโอกาสสูงมากที่จะพลาดทำ local optimization อยู่ ความเร็วที่เพิ่มขึ้นในส่วนเล็ก ๆ นี้ขององค์กร อาจจะกำลังทำร้ายภาพรวมอยู่ก็ได้

สรุป

สกรัมมาสเตอร์ไม่จำเป็นต้อง 3 เศียร 6 กร เขียนโปราแกรมเก่งกว่าทีม, ตัด release เก่งกว่า PO จัดโครงสร้างองค์กรเก่งกว่าผู้นำ หรือเชี่ยวชาญ engineering practice ต่าง ๆ มากกว่าสมาชิกในทีม แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่มีโอกาสไป pair กับเค้า เปิดโอกาสไปเรียนรู้จากพวกเค้าบ้าง เพื่อจะได้สวมรองเท้าเค้า เพื่อจะได้สานสัมพันธ์กับพวกเค้า เพื่อจะได้โค้ชเค้าออกมาจากความเข้าใจ

อ้างอิง

Scrum Master
The Scrum Master teaches Scrum to the organization and coaches them in their never-ending adoption. She has mastered Scrum and uses this deep Scrum und…
ScrumMaster Checklist
This website is dedicated to Michael James’ Scrum Master Checklist.

Read more

จักระกับระบบประสาท

จักระกับระบบประสาท

ครูณาส่งหนังสือที่ครูแปล ชื่อ Becoming super natural มาให้ ผมได้ข้อมูลที่ตื่นตาตื่นใจหลายอย่าง หลายอย่างผมก็ยังต้องใช้เวลาค่อย ๆ ทำความเข้าใจไป แต่วันนี้อยากเอาเรื่อง จักระ ทั้ง 8 จุดมาแบ่งปัน จากในหนังสือ ผมได้ลองนั

By Chokchai
Community of Practice (CoP) คืออะไร?

Community of Practice (CoP) คืออะไร?

กาลครั้งหนึ่ง… ชมรม Community of Practice (CoP) เป็นคอนเซปต์ที่ถูกกล่าวถึงใน Large Scale Scrum เทียบง่าย ๆ ก็เหมือนชมรมตอนเราเรียน ม. ปลาย นั่นแหละ ใครสนใจเรื่องอะไร ก็ไปเข้าชมรมนั้น แล้วก็ไปทำกิจกรรมร่วมกันในเรื่องที่เราสนใจ เพื่อฝึกฝนและแลกเปลี่ยนความรู้ บางทีอาจจะมี

By Chokchai
Vocal archetypes

Vocal archetypes

ผมกำลังเรียนวิธีใช้เสียงในคอร์ส Stage Academy ของ Vinh Giang ในคอร์ส ผมได้เรียนเกี่ยวกับแม่แบบของเสียง 4 รูปแบบดังนี้ Motivator ผู้จูงใจ เป้าหมายของผู้จูงใจคือการจุดประกายแรงบันดาลใจ องค์ประกอบของการใช้เสียงรูปแบบนี้คือ * เพิ่มความเร็วในการพูด * เปล่งเสี

By Chokchai