พาราดอกซ์ ตอน 3: resolve conflict

พาราดอกซ์ ตอน 3: resolve conflict
Photo by Richard Lee on Unsplash

ในตอน 2 ผมได้แบ่งปันว่าถ้าผมมองพาราดอกซ์ออก ผมสามารถเอาไปปรับใช้ในบริบทของ life coaching ได้อย่างไรบ้าง เป็นบริบทของการบริหารความตึงเครียดของพาราดอกซ์ในชีวิตคน ๆ นึง

ตอนนี้เรามาดูรูปแบบของพาราดอกซ์ที่ออกมาในระดับทีมบ้าง

ปรกติในทีมที่ทำงาน เป็นธรรมดาที่เราจะรวมผู้คนที่หลากหลาย แต่ละคนมีความชำนาญที่แตกต่างกัน และยึดถือคุณค่าที่แตกต่างกัน ทีมที่มีความหลากหลายนี้ มีโอกาสที่จะประคับประคองกันผ่านสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ได้ยั่งยืนกว่าทีมที่ขาดความหลากหลายซึ่งอาจจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง แต่ทำได้ภายในบริบทที่จำกัดเงื่อนไขเท่านั้น หากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป อาจจะไม่สามารถรักษาประสิทธิภาพเอาไว้ได้

ความแตกต่างก็ทำให้เกิดความเห็นต่าง นำไปสู่ความขัดแย้ง ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ มักเกิดจากกลุ่มย่อย ๆ ในทีมที่ยึดถือคุณค่าที่แตกต่างกัน เช่นฝั่งหนึ่งอาจจะยึดถือความเถียร ส่วนอีกฝั่งยึดถือความสร้างสรรค์

ในความเสถียรก็อาจจะอยากทำอะไรเดิม ๆ มักจะมองย้อนไปและอยากทำตามประวัติศาสตร์ที่เคยทำมา เพื่อปกป้องทีมจากความเสี่ยงที่อาจจะไม่เคยเจอมาก่อน ข้อเสียคือถ้าเราอยู่แบบเดิม ทำแบบเดิมนาน ๆ พอสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป เราอาจจะไม่ได้ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์แล้วทีมอาจจะสูญเสียความปลอดภัยไปก็ได้

ขณะที่ฝ่ายที่ให้ความสำคัญกับความสร้างสรรค์ มักจะมองไปในอนาคต เห็นประโยชน์ของความเป็นไปได้ ตื่นเต้นกับความเปลี่ยนแปลง เห็นโอกาสที่จะได้เรียนรู้หรือพบเจอประสบการณ์ใหม่ ๆ แต่อาจจะไม่ได้ระมัดระวังเรื่องความเสี่ยงหรือความมั่นคงที่ทีมสามารถแบกรับไหว เท่ากับฝ่ายที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัย อาจจะมองไม่เห็นความวุ่นวายที่เกิดขึ้นกับคนส่วนใหญ่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง

แตกแยก

รูปแบบที่ความขัดแย้งหรือความตึงเครียดนำไปสู่การแตกแยกของทีม เริ่มจากการที่ต่างฝ่ายไม่ตระหนักว่าทั้งความเสถียรและความสร้างสรรค์ล้วนสำคัญกับการอยู่รอดของทีม

ต่างฝ่ายต่างยึดแค่ครึ่งสมการของพาราดอกซ์แล้วโยนความรับผิดชอบของอีกครึ่งไปให้อีกฝ่าย เราเผลอทำแบบนี้บ่อย ๆ เพราะการโอบอุ้มความขัดแย้งภายในตัวเรามันทำให้เราสับสน มันยาก การแยกอีกครึ่งสมการแล้วโยนให้คนอื่นเป็นทางเลือกที่สมองเราจัดการได้ง่ายกว่า

แล้วพอวันเวลาผ่านไป ทุก ๆ ครั้งที่เกิดความขัดแย้งแล้วทีมเลือกให้ความสำคัญกับคุณค่าอีกฝั่งหนึ่ง เราก็เริ่มอึกอัดขัดใจ เราเริ่มป้ายสีให้กับคุณค่าอีกฝั่ง ความเคารพที่เราเคยให้กับอีกครึ่งของสมการก็เริ่มจืดจาง ความเสถียรก็อาจจะกลายเป็นความโบราณคร่ำครึ ความสร้างสรรค์ก็กลายเป็นความเพ้อเจ้อ

พอความเคารพหายไป ความขัดแย้งครั้งต่อ ๆ เราก็ถกเถียงกันเพียงเพื่อจะเอาชนะ ไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์หรือความปลอดภัยของทีมอีกต่อไป ในสถานการณ์ที่ความตึงเครียดมันสะสมมานานจนสูงมาก บางทีเราแอบอยากทางที่อีกฝ่ายเลือกมันวอดวายด้วยซ้ำ เค้าจะได้ฟังเสียงฝั่งเราบ้างสักที

พอเป็นแบบนี้ ความขัดแย้งก็จะนำไปสู่ความแตกแยก เราลืมไปแล้วว่าตอนแรกเรามารวมตัวกันเพราะเราเห็นว่าความต่างของเราจะเพิ่มโอกาสที่เราจะอยู่รอดปลอดภัยได้อย่างยั่งยืน

เติบโต

รูปแบบที่ความขัดแย้งนำไปสู่การเติบโต เริ่มจากการที่ทั้งสองกลุ่มย่อยในทีมถนอมความเคารพที่มีให้กับทั้งสองขั้วของพาราดอกซ์ไว้ การทำแบบนี้จะทำให้เราไม่ลืมว่าทั้งสองขั้วจำเป็นถ้าเราจะอยู่รอดอย่างยั่งยืน

ท่ามกลางความขัดแย้ง ฟังความกังวลของกันและกัน ฟังให้ได้ยินว่าแต่ละขั้วกังวลเรื่องอะไร ทำไมเราถึงเห็นต่างกัน เมื่อความกังวลได้รับการรับฟัง ก็จะช่วยให้ทั้งสองฝ่ายมีพื้นที่ที่จะสร้างสรรค์วิธีการใหม่ ๆ ที่ตอบสนองความต้องการทั้งสองฝ่าย แล้วความต่างของเราก็จะส่งเสริมกันและกันพร้อมทั้งปิดจุดอ่อนของกันและกันด้วย

นอกจากนี้ แต่ละฝ่ายก็ได้จะเรียนรู้จากมุมมองที่แตกต่างว่ามีคนกังวลเรื่องนี้ด้วยนะ ช่วยให้เราละวางความคาดหวังว่าทุกคนจะรู้สึกหรือคิดเหมือนเราได้บ้าง ทำให้ความคิดเรายืดหยุ่น รองรับสถานการณ์ในอนาคตได้ง่ายขึ้น ทำให้เราเติบโตขึ้น

สรุป

นอกจากเราจะเจอพาราดอกซ์ในชีวิตของคน ๆ หนึ่ง เช่นในบริบทจอง life coaching แล้ว เรายังเจอพาราดอกซ์ในความขัดแย้งของทีมได้ด้วย ซึ่งเอาไปปรับใช้กับการโค้ชทีมได้

เดี๋ยวตอนหน้าเรามาดูพาราดอกซ์ในระดับขององค์กร หรือ organizational coaching กันครับ

อ้างอิง

พาราดอกซ์ ตอน 2: ชีวิตติดลูป

Read more

จักระกับระบบประสาท

จักระกับระบบประสาท

ครูณาส่งหนังสือที่ครูแปล ชื่อ Becoming super natural มาให้ ผมได้ข้อมูลที่ตื่นตาตื่นใจหลายอย่าง หลายอย่างผมก็ยังต้องใช้เวลาค่อย ๆ ทำความเข้าใจไป แต่วันนี้อยากเอาเรื่อง จักระ ทั้ง 8 จุดมาแบ่งปัน จากในหนังสือ ผมได้ลองนั

By Chokchai
Scrum master focus

Scrum master focus

ครั้งแรกที่ผมได้เรียนว่า สกรัมมาสเตอร์ควรแบ่งโฟกัสการโค้ชของตัวเองเป็น 4 เรื่องคือ 1. องค์กร 2. engineering practice 3. product owner 4. ทีม ผมอดคิดไม่ได้ว่าคนบ้าอะไรจะไปเก่งทั้ง 4 อย่างซึ่งมันใช้ความรู้และทักษะที่แตกต่างกันเหลือเกิ

By Chokchai
Community of Practice (CoP) คืออะไร?

Community of Practice (CoP) คืออะไร?

กาลครั้งหนึ่ง… ชมรม Community of Practice (CoP) เป็นคอนเซปต์ที่ถูกกล่าวถึงใน Large Scale Scrum เทียบง่าย ๆ ก็เหมือนชมรมตอนเราเรียน ม. ปลาย นั่นแหละ ใครสนใจเรื่องอะไร ก็ไปเข้าชมรมนั้น แล้วก็ไปทำกิจกรรมร่วมกันในเรื่องที่เราสนใจ เพื่อฝึกฝนและแลกเปลี่ยนความรู้ บางทีอาจจะมี

By Chokchai