Community of Practice (CoP) คืออะไร?

Community of Practice (CoP) คืออะไร?
Photo by Chang Duong on Unsplash

กาลครั้งหนึ่ง… ชมรม

Community of Practice (CoP) เป็นคอนเซปต์ที่ถูกกล่าวถึงใน Large Scale Scrum เทียบง่าย ๆ ก็เหมือนชมรมตอนเราเรียน ม. ปลาย นั่นแหละ ใครสนใจเรื่องอะไร ก็ไปเข้าชมรมนั้น แล้วก็ไปทำกิจกรรมร่วมกันในเรื่องที่เราสนใจ เพื่อฝึกฝนและแลกเปลี่ยนความรู้

บางทีอาจจะมีผลงานออกมา เช่น ไปแข่งขัน หรือมีของที่ทำออกมาเพื่อสร้างประโยชน์ให้ส่วนรวมก็ได้ เช่น ชมรมวิทยาศาสตร์อาจจะสร้างเครื่องกรองน้ำมาให้คนอื่น ๆ ใช้งาน แต่ผลงานไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับ CoP

ทำไมผลงานถึงไม่จำเป็นหล่ะ?

ผมยังไม่สามารถอธิบายใครเข้าใจเหตุผลนี้ได้ จนกว่าคุณจะเข้าใจความแตกต่างระหว่าง group กับ system ก่อน

group

คือกลุ่มคนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เป็นกลุ่มคนที่ชอบของเหมือน ๆ กัน มารวมตัวกันเพราะความเหมือน

ในความเหมือนเราจะเชื่อมโยงกันได้ง่าย เราจะรู้สึกปลอดภัย เช่น กลุ่มเพื่อน กลุ่มคนชอบแต่งคอสเพลย์ กลุ่มรักหนังสือ

เนื่องจากเค้ามารวมตัวโดยธรรมชาติ เลยไม่ได้มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบอะไร แค่มีความสุขกับการแลกเปลี่ยนกัน มีกันและกันเฉย ๆ

system

คือกลุ่มที่ถูกตั้งขึ้นมา เพื่อทำภารกิจบางอย่าง มีภาระหน้าที่ชัดเจน ตัวอย่างเช่น หน่วยงานในองค์กร หรือ ทีมสำหรับทำโปรเจคบางอย่าง

ส่วนมากผู้คนใน system จะแตกต่างกัน มีความรู้ความสามารถหลากหลาย ยึดถือคุณค้าที่แตกต่างกัน เพื่อเพิ่มโอกาสที่จะสนับสนุนกันในสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้งานสำเร็จลุล่วง

แต่ความต่างก็จะมากับความขัดแย้ง ซึ่งเปิดโอกาสให้คนใน system ผิดใจกันได้ ถ้าทักษะการสื่อสารไม่สูงเพียงพอ

นอกจากนี้ เมื่อไหร่ที่ system เจอสถานการณ์ที่ต้องเลือกระหว่างดูแลคนใน system หรือทำให้ภารกิจสำเร็จ system จะต้องเลือกภารกิจก่อนดูแลคนเสมอ เพราะ วินาทีที่ system เลือกจะทิ้งภารกิจเพื่อดูแลคนเป็นวินาทีที่ system นั้น dysfunction ไป

เลยไม่แปลกที่หลายคู่ที่เป็นแฟนกัน พอแต่งงานกันไปก็รู้สึกว่า “ระหว่างเรามันไม่เหมือนเดิม”

แน่ละสิ ก็ตอนเป็นแฟนกันเราสองคนเป็น group ไม่ได้มีหน้าที่อะไรนอกจากดื่มด่ำช่วงเวลาที่เรามีกันและกัน แต่พอแต่งงานแล้ว เรากลายเป็น system เราต้องแบ่งเบาภาระของครอบครัว ดูแลผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่าย หรือเลี้ยงลูกน้อยที่เกิดขึ้นมาเป็นต้น

เหตุผลที่เราไม่ require ผลงานจาก CoP

เพราะเราอยากให้ CoP เป็น group ไม่ใช่ system เพราะในงานปรกติเราเป็น system อยู่แล้ว

ผมสังเกตตัวเองพบว่า เวลาโทรไปเม๊ากับเพื่อน มักจะเป็นเพื่อนใน group บ่อยกว่าเพื่อนใน system ทุกคนเป็นเหมือนผมไหมครับ

อ้างอิง

Communities
*Communities of Practice are groups of people who share a concern, a set of problems, or a passion about a topic, and who deepen their knowledge and ex…

Read more

จักระกับระบบประสาท

จักระกับระบบประสาท

ครูณาส่งหนังสือที่ครูแปล ชื่อ Becoming super natural มาให้ ผมได้ข้อมูลที่ตื่นตาตื่นใจหลายอย่าง หลายอย่างผมก็ยังต้องใช้เวลาค่อย ๆ ทำความเข้าใจไป แต่วันนี้อยากเอาเรื่อง จักระ ทั้ง 8 จุดมาแบ่งปัน จากในหนังสือ ผมได้ลองนั

By Chokchai
Scrum master focus

Scrum master focus

ครั้งแรกที่ผมได้เรียนว่า สกรัมมาสเตอร์ควรแบ่งโฟกัสการโค้ชของตัวเองเป็น 4 เรื่องคือ 1. องค์กร 2. engineering practice 3. product owner 4. ทีม ผมอดคิดไม่ได้ว่าคนบ้าอะไรจะไปเก่งทั้ง 4 อย่างซึ่งมันใช้ความรู้และทักษะที่แตกต่างกันเหลือเกิ

By Chokchai
Vocal archetypes

Vocal archetypes

ผมกำลังเรียนวิธีใช้เสียงในคอร์ส Stage Academy ของ Vinh Giang ในคอร์ส ผมได้เรียนเกี่ยวกับแม่แบบของเสียง 4 รูปแบบดังนี้ Motivator ผู้จูงใจ เป้าหมายของผู้จูงใจคือการจุดประกายแรงบันดาลใจ องค์ประกอบของการใช้เสียงรูปแบบนี้คือ * เพิ่มความเร็วในการพูด * เปล่งเสี

By Chokchai